วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายงาน CSR ประเทศไทย”

10 พฤษภาคม 2552


แถลงผลสำรวจ การดำเนินงาน CSR ผู้ประกอบการ 4 ภาค

สถาบันไทยพัฒน์และมูลนิธิพัฒนาชนบท ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดแถลงผลสำรวจ การดำเนินงาน CSR ผู้ประกอบการ 4 ภาค เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้าน CSR ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานดังกล่าวด้วย โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ศกนี้ ที่ โรงแรมอยุธยาแกรนด์ ถ.รัชดาภิเษก

สำหรับการรายงานดังกล่าว สถาบันไทยพัฒน์ ได้เผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี พ.ศ. 2552 จากผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พร้อมนำเสนอข้อมูลกิจกรรม CSR-Corporate Social Responsibility จากการกระจายความรู้สู่ภูมิภาค ในโครงการ “CSR Campus 75 จังหวัดทั่วไทย” รวบรวมในหนังสือ “CSR 4 ภาค” เพื่อแจกจ่ายให้กับองค์กรธุรกิจที่สนใจ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดเผยว่า โครงการ “CSR Campus” เริ่ม เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2551 โดยได้จัดการอบรมให้กับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ พนักงานองค์กรต่างๆ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั่วประเทศ มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 4,000 คน ซึ่งนอกจากจะบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่นแล้ว ยังได้รวบรวมผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม สรุปเป็นแนวทาง CSR ที่ได้จากการระดมสมองในแต่ละจังหวัด จัดทำเป็นหนังสือ “CSR 4 ภาค” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และช่วยให้สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กรธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วประเทศ โดยได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านโครงการ CSR Campus เพื่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทในชุมชนนั้นๆ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้าน CSR ในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเสริมสร้างรากฐานความรู้ ความเข้าใจ ในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกัน โดยมีเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนเกิดความร่วมมือ และรวมพลัง อันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมไทยร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป

ผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ปี 2552
จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ พบว่าแม้ในสภาพการณ์ที่หลายองค์กรได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำใน แนวโน้มการพิจารณาดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ขององค์กรต่าง ๆ เป็นดังนี้

แนวโน้มการดำเนินกิจกรรม และงบประมาณในการใช้ดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร


การดำเนินกิจกรรม CSR ปี 2552
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47
เท่าเดิม ร้อยละ 42
ลดลง ร้อยละ 10 งบประมาณสำหรับดำเนินกิจกรรม CSR ปี 2552
ร้อยละ 46
ร้อยละ 32
ร้อยละ 21
ความคิดเห็นที่มีต่อพัฒนาการของ CSR ในประเทศไทย
ผู้ดำเนินกิจกรรม CSR ในส่วนกลาง
เริ่มต้นการเรียนรู้ ร้อยละ 27
ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง ร้อยละ 53
มีความก้าวหน้าดีมาก ร้อยละ 16 ผู้ดำเนินกิจกรรม CSRในส่วนภูมิภาค
ร้อยละ 45
ร้อยละ 40
ร้อยละ 12


การจัดทำรายงาน CSR (หรือ Sustainability Report) ขององค์กร
การจัดทำรายงาน CSR
มีการจัดทำรายงาน ร้อยละ 20
กำลังพิจารณาจัดทำ ร้อยละ 26
ไม่มีแนวคิดในการจัดทำ ร้อยละ 54
ผลการสำรวจ ความตื่นตัวในการทำ CSR ของภาคธุรกิจในระดับภูมิภาค
ความตื่นตัวในการดำเนินกิจกรรม CSR
มาก ร้อยละ 12
ปานกลาง ร้อยละ 42
น้อย ร้อยละ 45
เนื้อหา CSR ที่ต้องการในระดับภูมิภาค
เนื้อหาที่ต้องการในระดับภูมิภาค
วิธีการทำ CSR อย่างเป็นระบบ ร้อยละ 61

วิธีการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR ร้อยละ 20
ความรู้เบื้องต้นของกิจกรรม CSR ร้อยละ 11

ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวสรุปว่า “CSR Campus เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริงทั้ง ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ CSR เบื้องต้นที่ถูกต้อง ได้แนวทางในการพัฒนากิจกรรม CSR ขององค์กรตนเอง ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้ถึงความต้องการและประเด็น CSR ของท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยการทำงานขับเคลื่อน CSR ประเทศไทยในลักษณะนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนา CSR ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และสอด คล้องกับวิถีของท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยการดำเนินงาน CSR จากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”

Source: http://www.prthailand.com/news/news-09-04-03-1.html